เที่ยวประเทศไหนต้องใช้ปลั๊กอะไร? เปิดวาร์ปสายเที่ยวไปกับ ‘ปลั๊กไฟและเต้ารับทั่วโลก’

ช่วงปลายปีแถมอากาศดีๆ แบบนี้ แน่นอนว่าหลายคนคงจะเก็บกระเป๋าออกเดินทางไปท่องโลกกว้าง โดยเฉพาะการไปต่างประเทศ สิ่งที่เราจะลืมไปไม่ได้เลยก็คือเรื่องของ ‘ปลั๊กไฟ’ อุปกรณ์เชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร เพราะในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล เราต่างมีแกดเจ็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจมากมายที่น่าพกติดตัวไปอำนวยความสะดวกสำหรับทริปที่ภาพความทรงจำดีๆ จะอยู่กับเราไปเนิ่นนาน

วันนี้บอร์เนียวฯ จึงขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับปลั๊กไฟที่มีการใช้งานจริงทั่วโลก ว่าในแต่ละประเทศเขารองรับปลั๊กไฟแบบไหน มีเต้ารับเป็นอย่างไร และมีการออกแบบแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นสายเที่ยวหรือผู้ที่กำลังจะเดินทางไปเรียนต่อหรือกำลังจะย้ายไปใช้ชีวิตต่างแดน จะได้รับสาระและสามารถเตรียมความพร้อมได้ง่ายยิ่งขึ้น ไปกับคอนเทนต์ เที่ยวประเทศไหนต้องใช้ปลั๊กอะไร? เปิดวาร์ปสายเที่ยวไปกับ ‘ปลั๊กไฟและเต้ารับทั่วโลก’ กันแบบสบายใจหายห่วงตั้งแต่ Type A-N ที่รูปแบบปลั๊กไฟจะเป็นไปตามมาตรฐานสากลของ International Electrotechnical Commision (IEC) นอกจาก Type O ที่เป็นของประเทศไทย ว่าแล้วก็ตามเรามารู้จักปลั๊กไฟแต่ละประเภทกันเลย~

ปลั๊กไฟและเต้ารับทั่วโลก

🔌 ปลั๊กไฟ Type A 🔋

⚡ ปลั๊กไฟมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายรวมถึงในประเทศไทย

⚡ ลักษณะเป็นปลั๊กเสียบแบบขาแบน 2 ขาขนาดกัน 2 ข้าง ไม่มีกราวด์

⚡ ขาปลั๊กไฟจะมีรูเล็กๆ ไว้ล็อกกับปุ่มด้านในเต้ารับที่ขาทั้ง 2 ด้าน ช่วยให้เสียบได้แน่น ไม่หลุดออกง่าย

⚡ ปลั๊กไฟอเมริกัน: ขาข้างหนึ่งกว้างกว่าอีกข้าง อาจเสียบกับปลั๊กไฟญี่ปุ่นไม่ค่อยเข้า เนื่องจากรูทั้ง 2 ข้างเล็กกว่า

⚡ ปลั๊กไฟญี่ปุ่น: ขาทั้ง 2 ข้างมีขนาดเท่ากัน สามารถใช้ได้ในสหรัฐอเมริกา

⚡ พบได้ทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากเรานำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามาจากทางญี่ปุ่น

📍 ประเทศที่ใช้งาน: อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศแคริเบียน บาฮามาส หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น โคลัมเบีย จอร์แดน ลาว เลบานอน ไลบีเรีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เติร์กเมนิสถาน และเวเนซุเอลา (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)

🔌 ปลั๊กไฟ Type B 🔋

⚡ ใช้งานในประเทศเดียวกับปลั๊กไฟ Type A

⚡ ขนาด 15 แอมป์ มีลักษณะเป็นปลั๊กไฟ 3 ขา โดยมีขาแบน 2 ขา และขากลม 1 ขา

⚡ มีการเพิ่มขากราวด์ตรงกลางที่เป็นขากลมหรือขาสายดิน (ความยาวขากราวด์มากกว่าอีก 2 ขา) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า

📍 ประเทศที่ใช้งาน: อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศแคริเบียน บาฮามาส หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น โคลัมเบีย จอร์แดน ลาว เลบานอน ไลบีเรีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เติร์กเมนิสถาน เวเนซุเอลา (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)

🔌 ปลั๊กไฟ Type C 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type C (Europlug) เป็นปลั๊กไฟขากลม 2 ขา ไม่มีขากราวด์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-4.8 มิลลิเมตร

⚡ แพร่หลายในประเทศแถบยุโรป และมีการใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทในประเทศไทย

⚡ ใช้ได้กับตัวที่รับหน้าสัมผัสกลม 4.0-4.8 มม. บนศูนย์กลาง 19 มม.

⚡ โดยทั่วไปจะจำกัดไว้สำหรับใช้ในเครื่องใช้ที่ต้องการไฟไม่เกิน 2.5 แอมป์

⚡ เสียบได้กับเต้ารับหลากหลายประเภท ปัจจุบันกำลังถูกแทนที่ด้วย Type E, F, J, K, L หรือ N และสามารถนำ Type B มาใช้งานกับเต้ารับทุกประเภทที่กล่าวมาได้

📍 ประเทศที่ใช้งาน: ยุโรป เช่น ฝรั่งเศส ออสเตรีย ฟินแลนด์ เกาหลี ลาว มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ / ยกเว้นสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ไซปรัส และมอลตา (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)

🔌 ปลั๊กไฟ Type D 🔋

⚡ ปลั๊กไฟขากลม 3 ขา ขนาด 5 แอมป์ วางตำแหน่งเรียงกันในรูปแบบสามเหลี่ยม โดยขากลางเป็นขากลมขนาดใหญ่กว่าอีก 2 ขา (ปลั๊กไฟอังกฤษแบบเก่า)

⚡ ใช้ได้กับเต้ารับของปลั๊กไฟ Type M โดยไม่ต้องใช้ปลั๊กพ่วงหรือหัวแปลงเนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันแต่รองรับกำลังไฟได้มากกว่า

📍 ประเทศที่ใช้งาน: อินเดีย ศรีลังกา เนปาล นามิเบีย บังกลาเทศ ภูฏาน บอตสวานา คองโก โดมินิกา กานา ฮ่องกง อิรัก จอร์แดน เลบานอน มาเก๊า มาดากัสการ์ โมนาโก พม่า ไนจีเรีย ปากีสถาน กาตาร์ แอฟริกาใต้ ซูดาน แทนซาเนีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน แซมเบีย ซิมบับเว (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type E 🔋

⚡ มีลักษณะเป็นปลั๊กไฟขากลม 2 ขา และ 1 คลิปกราวด์ เส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละขาอยู่ที่ 4.8 มม. ระยะห่างระหว่างขาคือ 19 มม.

⚡ รูปร่างโค้งมน มีช่องกลม ขนาด 16 แอมป์ มีรูสำหรับรองรับขากลมสายดินยื่นออกมาจากเต้ารับ นอกจากนี้ยังคล้ายกันกับปลั๊กไฟ Type F จึงมักใช้ร่วมกันได้ในหลายประเทศ

📍 ประเทศที่ใช้งาน: ฝรั่งเศส เบลเยียม สโลวาเกีย ตูนิเซีย แอฟริกากลาง คองโก สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอธิโอเปีย กรีนแลนด์ ลาว ไลบีเรีย มาดากัสการ์ โมนาโก มองโกเลีย โมร็อกโก โปแลนด์ ซีเรีย (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

Isometric Switches and sockets set. Type E. AC power sockets realistic vector illustration

🔌 ปลั๊กไฟ Type F 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type F หรือปลั๊กไฟ Schuko plug ลักษณะเป็นหลุมกลม มีขากลม 2 ขา ขนาด 16 แอมป์ เสียบลงไปในหลุมของเต้ารับได้เพื่อยืดตัวปลั๊กไฟไว้

⚡ ขากลม 4.8 มม. ทั้ง 2 ขาโดยเว้นระยะห่างกัน 19 มม. คล้ายกับปลั๊กไฟ Type E ที่มีขากลม 2 ขา และสามารถเสียบกับเต้ารับนี้ได้ ต่างกันที่มีคลิปหนีบสายดิน 2 อันด้านข้างแทนขั้วต่อสายดินตัวเมีย (ไม่มีคลิปกราวด์)

⚡ แพร่หลายในประเทศเยอรมัน สเปน เนเธอร์แลนด์ โดยพบในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดในประเทศไทย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

⚡ ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่และกินพื้นที่ปลั๊กไฟ

📍 ประเทศที่ใช้งาน: เยอรมนี ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ และสเปน เซอร์เบีย สโลวีเนีย สวีเดน ไทย ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน อุรุกวัย อียิปต์ อัฟกานิสถาน อาร์มีเนีย ออสเตรีย อาเซอร์ไบจาน เวียดนาม ภูฏาน บัลแกเรีย โครเอเชีย เดนมาร์ก เอธิโอเปีย ฟินแลนด์ จอร์เจีย กรีซ กรีนแลนด์ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อินโดนีเซีย อิหร่าน อิตาลี จอร์แดน คาซัคสถาน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ลาว ไลบีเรีย ลักเซมเบิร์ก มาเก๊า โมนาโก มอนเตเนโกร พม่า นอร์เวย์ โปรตุเกส โรมาเนีย รัสเซีย (ปลั๊กไฟในประเทศไทยสามารถใช้ได้)

🔌 ปลั๊กไฟ Type G 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type G ลักษณะเป็นขาสี่เหลี่ยมแบน 3 ขาเรียงตัวกัน และมีทรงสามเหลี่ยมที่ส่วนปลาย

⚡ ขาบนสุดของปลั๊กไฟจะอยู่ในแนวตั้ง ส่วน 2 ขาล่างจะอยู่แนวนอน และมีฟิวส์ภายในปลั๊กไฟเพิ่มความปลอดภัย

⚡ ไม่สามารถใช้งานร่วมกับเต้ารับแบบอื่นได้ จึงต้องใช้งานร่วมกับอะแดปเตอร์แปลงไฟเท่านั้น

📍 ประเทศที่ใช้งาน: สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ไซปรัส มอลตา มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง บาห์เรน บังกลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา โดมินิกา กานา อิรักจอร์แดน เคนยา คูเวต เลบานอน มาเก๊า มัลดีฟส์ พม่า ไนจีเรีย โอมาน ปากีสถาน กาตาร์ ซาอุดิอาราเบีย ศรีลังกา ยูกันดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน แซมเบีย ซิมบับเว (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type H 🔋

⚡ Type H เป็นปลั๊กไฟที่ถูกใช้น้อยมาก เนื่องจากใช้งานเฉพาะประเทศอิสราเอลเท่านั้น

⚡ ปลั๊กไฟประเภทพิเศษที่มีลักษณะเป็นปลั๊กไฟขาแบนทั้ง 3 ขา โดยจะมี 1 ขาเป็นขาต่อสายดิน และ 2 ขาในรูปตัว V เอียงมุมเข้าหากัน 45 องศา

⚡ รูปลั๊กไฟมีความกว้างตรงกลางเพื่อรองรับปลั๊กไฟแบบกลมและปลั๊กไฟ Type C และ M

📍 ประเทศที่ใช้งาน: อิสราเอล (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

ปลั๊กไฟ Type H

🔌 ปลั๊กไฟ Type I 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type I เป็นปลั๊กขั้วเหลี่ยมแบนทั้ง 3 ขา รวมขาต่อสายดิน โดยจะมีขาแบน 2 ขาที่เบนองศาออกในรูปตัว V คว่ำ ในบางรุ่นอาจมีขาแบนเพียง 2 ขาเท่านั้น

⚡ ระบบปลั๊กไฟมาตรฐานมีพิกัด 10 แอมป์ ลักษณะคล้ายกับปลั๊กไฟ Type H ทำให้สามารถใช้งานได้กับปลั๊กไฟในประเทศจีน

📍 ประเทศที่ใช้งาน: ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี อาร์เจนตินา จีน ฟิจิ อุรุกวัย อุซเบกิสถาน (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type J 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type J มีลักษณะเป็นปลั๊กไฟขากลม 3 ขา ขนาด 10 แอมป์ มีขากลม 2 ขา และขากราวด์ 1 ขา มีช่องว่างระหว่างกันค่อนข้างแคบ

⚡ สามารถเข้ากันได้ดีกับปลั๊กไฟ Type C โดยไม่ต้องใช้อะแดปเตอร์แปลง

⚡ หน้าตาคล้ายกับปลั๊กไฟ Type N ของบราซิล แต่ไม่สามารถใช้งานกับปลั๊กไฟ Type N ได้ เนื่องจากขาข้างที่เป็นสายดินอยู่ห่างจากเส้นกึ่งกลางมากกว่า

📍 ประเทศที่ใช้งาน: สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ จอร์แดน มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type K 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type K เป็นปลั๊กไฟ 3 ขา ที่มีขากลมทั่วไป 2 ขา และขากราวด์สายดินทรงครึ่งวงกลม 1 ขา

⚡ ตัวเต้ารับหากสังเกตดีๆ จะเป็นเหมือนใบหน้ารูปหน้ายิ้ม มีลักษณะคล้ายกับ Type F คือมีขากลม 2 ขา แต่ความแตกต่างคืออีกปลั๊กจะมีขากราวด์ยื่นออกมาแทนคลิปกราวด์

⚡ ใช้เสียบกับปลั๊กไฟขากลมคู่อย่าง Type C ได้โดยไม่ต้องใช้หัวแปลง

📍 ประเทศที่ใช้งาน: เดนมาร์ก กรีนแลนด์ บังกลาเทศ มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type L 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type L มีลักษณะเป็นขากลม 3 ขาเรียงในแนวเดียวกัน มีทั้งหมด 2 แบบคือแบบ 10 แอมป์ และ 16 แอมป์

⚡ รุ่น 10 แอมป์; มีขากลม 2 ขาที่มีความหนา 4 มม. และเว้นระยะห่าง 5.5 มม. โดยมีหมุดกราวด์อยู่ตรงกลาง

⚡ รุ่น 16 แอมป์; มีขากลม 2 ขาที่มีความหนา 5 มม. และเว้นระยะห่าง 8 มม. รวมทั้งขาสำหรับกราวด์

⚡ ปลั๊กไฟชนิดนี้แพร่หลายในประเทศอิตาลี รองรับการเสียบใช้งานของปลั๊กไฟ Type C, E และ F โดยไม่ต้องใช้ Adapter แปลงกำลังไฟ

📍 ประเทศที่ใช้งาน: อิตาลี ชิลี เอธิโอเปีย มัลดีฟส์ อุรุกวัย (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type M 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type M มีขากลมสามขาในรูปแบบสามเหลี่ยม เป็น 3 ขากลมโดยมี 1 ขาเป็นขากราวด์ขนาดใหญ่ยื่นยาวออกมาจากขาอื่นๆ

⚡ มีลักษณะคล้ายกับปลั๊กไฟอินเดียหรือ Type D และสามารถนำมาใช้งานกับเต้ารับ Type M ได้โดยไม่ต้องผ่านอะแดปเตอร์ รวมถึงใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้

📍 ประเทศที่ใช้งาน: แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ เลโซโท ภูฏาน อินเดีย อิสราเอล มาเก๊า มาเลเซีย โมซัมบิก เนปาล ปากีสถาน สิงคโปร์ ศรีลังกา (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type N 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type N เป็นปลั๊กไฟกลม 3 ขา วางตัวเรียงกันในรูปทรงสามเหลี่ยม มีขาดินอยู่ด้านบนสุด

⚡ แพร่หลายในบราซิล มีทั้งหมด 2 แบบ คือแบบ 10 แอมป์ และ 20 แอมป์ ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับปลั๊กไฟ Type C ได้

⚡ รุ่น 10 แอมป์; มีขากลม 2 ขาที่มีความหนา 4 มม. และขากราวด์

⚡ รุ่น 20 แอมป์; เป็นขากลม 2 ขาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.8 มม. และขาสำหรับกราวด์ เหมาะสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หนักกว่า

⚡ ใช้แรงดันไฟฟ้า 2 ประเภท โดยส่วนใหญ่มักใช้ 127 V และบางรัฐอาจใช้แบบ 220 V (ควรทราบแรงดันไฟฟ้าในพื้นที่ก่อนเสียบใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้)

⚡ ลักษณะปลั๊กไฟเป็นขากลม 3 ขาคล้ายกับ Type J แต่ขาคู่จะอยู่ชิดและมีระยะห่างกับขั้วหลักกว่าเล็กน้อย นอกจากนี้ยังเสียบกับเต้ารับ Type C และ N ได้โดยไม่ต้องผ่านอะแดปเตอร์

📍 ประเทศที่ใช้งาน: บราซิล แอฟริกาใต้ (ปลั๊กไฟในประเทศไทยใช้ไม่ได้ ต้องมีตัวแปลง)

🔌 ปลั๊กไฟ Type O 🔋

⚡ ปลั๊กไฟ Type O เป็นปลั๊ก 3 ขั้ว ประกอบด้วย 2 ขากลมปกติ และอีก 1 ขาสายดิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.8 มม. ความยาวปลั๊กไฟ 19 มม. ปลอกหุ้มฉนวนยาว 10 มม. ระยะห่าง 19 มม.

⚡ ลักษณะของปลั๊กไฟคล้ายกับ Type D ของอินเดีย ทว่าไม่สามารถใช้งานปลั๊กไฟนี้ร่วมกับปลั๊กไฟประเภทอื่นได้

⚡ ปลั๊กไฟนี้เป็นปลั๊กไฟที่เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ได้รับการออกแบบใน พ.ศ. 2549

📍 ประเทศที่ใช้งาน: ประเทศไทย

สนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายกลุ่มสินค้าธุรกิจก่อสร้าง (Building Group) จากแบรนด์ชั้นนำ ติดต่อบอร์เนียวฯ โทร 02-0814900

อ่านฉบับภาษาอังกฤษที่นี่!

Tags