คนรักรถจักรยานยนต์โปรดอ่านก่อนใช้! ‘ยางจุ๊บเลส’ (Tubeless) หรือ ‘ยางที่ไม่มียางใน’ ดีอย่างไร?

ก่อนที่หลายๆ ท่านจะออกเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจกันด้วยรถจักรยานยนต์คู่ใจในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ สิ่งหนึ่งที่จะพาให้จักรยานยนต์ของเราเคลื่อนที่ได้อย่างมีสมรรถนะและปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ ก็คือ ‘ยางนอกจักรยานยนต์’ ส่วนประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้ยางสามารถรับน้ำหนัก ควบคุมทิศทางการขับขี่ ตลอดจนเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนและหยุดรถ ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนจากพื้นถนน ฯลฯ ซึ่งวันนี้บอร์เนียวฯ ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับช่วงเวลาที่คุณจะพาคนที่คุณรักซ้อนท้ายออกไปผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าที่สะสมมาตลอดปี ไปกับคอนเทนต์ โฉบเฉี่ยว มั่นใจ ปลอดภัย สนุกไปกับทุกการขับขี่ด้วย ‘ยางนอกรถจักรยานยนต์ ND RUBBER’ ขอให้ทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ และได้รับพลังงานดีๆ มาเติมเต็มหัวใจตลอดปีใหม่ 2024 นี้~

แน่นอนว่ายางที่คนส่วนใหญ่รู้จักก็คือ ‘ยางแบบมียางใน’ ซึ่งใช้ยางในในการกักเก็บลม รองรับการบรรทุกหนักได้ดี เช่น รถสิบล้อ รถแทรคเตอร์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีราคาถูก หาซื้อง่าย มีความยืดหยุ่น สามารถอัดลม-ปะ-เปลี่ยนยางง่าย และใช้ในที่ทุรกันดารได้ดี ขณะเดียวกันหากยางในถูกวัตถุมีคมแทงทะลุยางชั้นนอก ลมยางชั้นในก็จะรั่วอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องหมั่นเติมลมยางให้แข็งอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ยางนอกจะไปเสียดสีกับยางเวลารถจักรยานยนต์วิ่ง

🛞 ยางจุ๊บเลส (Tubeless) = ยางที่ไม่มียางใน ‎🛵

หลายคนอาจสงสัยกันอยู่ใช่ไหมว่า… ยางที่ไม่มียางใน จะสามารถเก็บลมไว้ได้อย่างไร? คำตอบง่ายๆ ให้เราลองนึกตามเป็นภาพถึงผนังยางนอก ที่เนื้อยางมีโครงสร้างหนาแน่นกว่ายางมอเตอร์ไซค์แบบมียางใน ซึ่งชั้นยางด้านในสุดจะไม่มียางแต่เป็นโครงสร้างผ้าใบแทน นั่นก็เพื่อทำหน้าที่กักเก็บอากาศลมยางแทนยางใน โครงสร้างของผนังยางชั้นในจึงมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เกิดรอยรั่วซึมเมื่อถูกวัตถุมีคมทิ่มแทง อีกทั้งขอบยางจะผนึกลมอัดแน่นเข้ากับขอบกระทะล้อเป็นพิเศษเพื่อการเก็บลมมากกว่ายางแบบธรรมดา ทำให้ยากที่จะบิดตัวได้เวลาเนื่องจากถูกสร้างมาให้ใส่กับล้อแม็กซ์ จึงเป็นยางที่มีความร้อนน้อยกว่า เนื่องจากไม่มีการเสียดสีกันระหว่างยางนอกและยางใน ทำให้เก็บรักษาลมยางและมีอายุการใช้งานที่นานกว่า ไม่ต้องเติมลมบ่อยๆ

เมื่อเกิดรอยรั่วตัวเนื้อยางจะพยายามบีบรูรั่วเอาไว้ให้ลมรั่วช้าลง หรือหากเกิดรูไม่ใหญ่นักจากวัตถุมีคมที่ปักติดกับหน้ายาง รถจักรยานยนต์จะยังสามารถวิ่งต่อไปได้อีกระยะหนึ่งและมักพบว่าต้องผ่านไปหลายวันกว่ายางจะแบน ทั้งยังปลอดภัยกว่าหากมีแผลจากของมีคมขนาดใหญ่ เพราะลมยางจะค่อยๆ รั่วออกมาทำให้รถจักรยานยนต์ของคุณไม่สูญเสียการความคุม ตลอดจนแทบไม่เกิดปัญหายางระเบิดทำให้รถจักรยานยนต์เสียการทรงตัวในทันที ทว่ายางจุ๊บเลส (Tubeless) มีราคาค่อนข้างสูงตามประสิทธิภาพการใช้งานที่ได้ เวลาปะยางจึงต้องเปลี่ยนยางเส้นใหม่ด้วยการถอดยางออกจากล้อเท่านั้น ไม่สามารถซ่อมแซมด้วยการปะแบบตัวหนอนได้ ทำให้การเปลี่ยนยางจำเป็นต้องใช้เครื่องถอดยางสำหรับการถอดเปลี่ยนเพื่อปะด้านในโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘การสตรีม’ หรือการใช้ความร้อนเพื่อทำให้ยางสะอาด ไม่ให้มีเศษตกค้างภายในที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ในระยะยาว เนื่องจากจะทำให้สิ่งสกปรกสามารถแทรกซึมเข้าไปในใต้ชั้นผ้าใบ เกิดการผุกร่อน ยางอาจจะเสียรูปหรือบวมได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนยางเส้นใหม่ซึ่งมีราคาแพง

สนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายกลุ่มสินค้าเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ (Motorcycles Group) จากแบรนด์ชั้นนำ ติดต่อบอร์เนียวฯ โทร 02-0814900

อ่านฉบับภาษาอังกฤษที่นี่!

Tags